วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555


สรุปเนื้อหางานวิจัย

มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน  ศึกษาผลการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ โดยเน้นเรื่องของวิธีการออกกำลังกายและรูปแบบการออกกำลังกายรวมไปถึงอาหารและการพักผ่อนที่ถูกต้อง

บทความวิจัย

เรื่อง การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิ

 

นายไวพจน์ จันทร์เสม  , นายปธานศาสน จับจิตร

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน  ศึกษาผลการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ โดยสำรวจผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 842 คน ประกอบด้วยเพศหญิง 435 คนและเพศชาย 407 คน (คิดเป็นร้อยละ 51.66 และ 48.34 ตามลำดับ) มีแรงจูงใจในการออกกำลังกายคือต้องการมีสุขภาพดี และต้องการลดน้ำหนัก กิจกรรมที่ใช้ออกกำลังกายเป็นประจำคือ การวิ่งเหยาะและการเดิน มีการออกกำลังกาย 3-4 วันต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30-45 นาที มักออกกำลังกายในตอนเย็น ระยะเวลาใน      การอบอุ่นร่างกายคือ 10-15 นาที และระยะเวลาในการผ่อนหยุด คือ  5-10 นาที

การวิจัยเชิงทดลอง แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ   กลุ่มควบคุม  กลุ่มเดินเร็ว   และกลุ่มขี่จักรยาน  ทำการทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มเดินเร็ว หลังทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะบีบตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนแตกต่างจากก่อนทดลองที่นัยสำคัญทางสถิติ.05 ส่วนกลุ่ม    ขี่จักรยาน หลังทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวและการใช้ออกซิเจนสูงสุด แตกต่างจากก่อนทดลองที่นัยสำคัญทางสถิติ .05

                   การทดสอบความแตกต่างของกลุ่มควบคุม ได้แก่ กลุ่มเดินเร็วและกลุ่มขี่จักรยาน พบว่าภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะคลายตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว และการใช้ออกซิเจนสูงสุด ทั้ง 3 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า ค่าเฉลี่ย ความดันโลหิตขณะบีบตัวและคลายตัว  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การใช้ออกซิเจนสูงสุด และไขมันใต้ผิวหนัง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว นั้นควรจะมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นประจำอย่างน้อย 8 สัปดาห์ จึงจะทำให้สมรรถภาพทางกายเปลี่ยนแปลง ส่วนการขี่จักรยานนั้น เป็นวิธีออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ที่ได้ผลวิธีหนึ่ง ที่ทำให้กล้ามเนื้อแขนและขาแข็งแรงขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาวิจัยในรูปแบบอื่นๆ และควรมีการศึกษาวิจัยเรื่องรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด  เป็นต้น

 

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยบรรจุเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพของคนว่า ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วย ด้วยโรคป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมอง  เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสุขภาพ เนื่องจากปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภค ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและการดำเนินชีวิต ดังนั้นกลไกในการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงต้องกำหนดให้ภาวะโภชนาการและตัวชี้วัดด้านสุขภาพเป็นนโยบายที่สำคัญ  มีการศึกษาภาวะโรคและการบาดเจ็บและภาวะจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ(คณะทำงานศึกษาภาวะโรคและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ , 2549 ) พบว่า ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 หมื่นราย ( ร้อยละ 5.1 ของประชากรทั้งหมด )  ภาวะน้ำหนักตัวเกินและอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเจ็บป่วยและโรคเรื้อรังต่างๆ  เช่น  เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอื่นๆ  ซึ่งภาระโรคนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพอนามัยและเศรษฐกิจของประเทศ  โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ความสูญเสียทางเศรษฐกิจนี้ นอกจากจะวัดโดยตรงจากค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังกลุ่มนี้แล้ว ยังมีความสูญเสียจากการลดความสามารถในการทำงานเพราะการเจ็บป่วย  ความพิการและการตายจากโรคเหล่านี้   ปัจจุบันได้มีการสำรวจโดยการวัดเส้นรอบเอวของประชาชนไทยอายุ 15 – 60 ปีขึ้นไป พบว่าผู้ชายเส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน (90 ซ.ม.) ร้อยละ 23.8  ผู้หญิง (80  ซ.ม.)   ร้อยละ 60.5 ( กรมอนามัย ,2550 )  เนื่องมาจากแบบแผนการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งวิถีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น  ส่งผลให้การบริโภคอาหารที่เป็นผักและผลไม้ในประชากรทั้งชายและหญิงโดยเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 400 – 800 กรัมต่อวัน  ส่วนการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับต่ำและไม่เพียงพอ พบประมาณ  1 ใน 5 ของประชากร  นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กไทยใช้เวลาหนึ่งในห้าของเวลาว่างที่นอกเหนือจากการนอน  การเรียน และการทำกิจวัตรประจำวันในการดูโทรทัศน์  นอกจากเป็นดัชนีทางอ้อมของการไม่เคลื่อนไหวออกกำลังกายแล้ว การดูโทรทัศน์ยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคของคบเคี้ยวที่อุดมด้วยแป้งและไขมันและส่งผลให้เด็กอ้วนมากที่สุด   การที่มีการเพิ่มขึ้นของภาวะอ้วนสิ่งที่ตามมา             คือ  โรคอ้วนทางการแพทย์ถือว่าความอ้วนเป็นภาวะทุพพลโภชนาการประเภทภาวะโภชนาการเกิน  ( อารี วัลยะเสวี , 2530 )  ความอ้วนทำให้แขนขานั้นต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ             การเคลื่อนไหวต่าง ๆ  จึงต้องใช้แรงมาก  ส่งผลให้อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย  ทำให้ชอบอยู่เฉย ๆ และไม่ออกกำลังกาย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายไม่ได้ใช้พลังงานจึงมีภาวะอ้วนเกิดขึ้น ( เทวี  รักวานิช . 2536 ) ผลเสียของภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานก่อให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นการควบคุมและป้องกันภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานจำเป็นต้องทำอย่างถูกต้อง โดยใช้วิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย นอกจากนี้ การปรับพฤติกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งวัยรุ่นอาจจะมีพฤติกรรมการจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานที่ไม่ถูกต้องหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จำเป็นจะต้องจัดการกับภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานอย่างถูกวิธี เพื่อให้เด็กวัยรุ่นมีน้ำหนักที่เป็นมาตรฐานเหมาะสมกับระดับส่วนสูงและอายุ นำไปสู่การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ปกติและสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต

            วิธีการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในตัวบุคคลทั้งทางด้าน  ร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์ สังคม  และสติปัญญา (วรศักดิ์  เพียรชอบ, 2523) กิจกรรมเหล่านี้นอกจากช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ จิตใจแจ่มใสแล้ว  ยังช่วยให้เยาวชน มีระเบียบวินัย มีน้ำใจเป็นนักกีฬา  ความสามัคคี  และการอุทิศตนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม  ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา    ศาลาดุสิตชัย พระราชวังดุสิต ความว่าข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องสุขภาพอนามัยนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล    ดังคำกล่าวที่ว่า จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง จากประชาชนมีสุขภาพ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเขาก็จะมีสติปัญญาเล่าเรียน  ประกอบสัมมาอาชีพ  สร้างสรรค์ความเจริญต่าง ๆ ให้แก่ชาติบ้านเมือง อาจกล่าวว่า พลเมืองที่แข็งแรงพร้อมที่สามารถสร้างชาติที่มั่นคงได้(สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา  และสันทนาการแห่งประเทศไทย ,  2547 )

                 ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่า  ผลของการออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆของที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินมีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ว่าจะสามารถทำให้สมรรถภาพทางกายของที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน พัฒนาขึ้นได้มากน้อยเพียงใด หลังจากที่เข้าร่วมโปรแกรมกิจกรรมการออกกำลังกายครั้งนี้ และมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรในทางปฏิบัติและมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาต่าง ๆ จึงได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้โดยคาดหวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มประชาชนที่มีภาวะโภชนาการเกิน  และผู้ที่เกี่ยวข้องในการที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้นไป  ซึ่งเป็นการป้องกันและลดภาวะอ้วน ซึ่งก่อให้เกิดโรคอ้วนในประชากรไทยที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554 ) ให้มีพัฒนาการด้านสุขภาพที่ดี อันจะเป็นรากฐานและกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศโดยใช้คนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริง

                         

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.      เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของคนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

2.      เพื่อศึกษาผลการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ  ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

3.      เพื่อเปรียบเทียบผลการออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

 

สมมติฐาน

      สมมติฐานตามวัตถุประสงค์ข้อ 2

              1. H0: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน

                  H1: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มควบคุมแตกต่างกัน

              2. H0: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มเดินเร็วไม่แตกต่างกัน

                  H1: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มเดินเร็วแตกต่างกัน

  3. H0: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มขี่จักรยานไม่แตกต่างกัน

                  H1: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่มขี่จักรยานแตกต่างกัน

     สมมติฐานตามวัตถุประสงค์ข้อ 3

  1.  H0: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มเดินเร็วไม่แตกต่างกัน

                   H1: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มเดินเร็วแตกต่างกัน  

2.    H0: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มขี่จักรยานไม่แตกต่างกัน             H1: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มขี่จักรยานแตกต่างกัน

 3.   H0: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มเดินเร็วกับกลุ่มขี่จักรยานไม่แตกต่างกัน                          H1: ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มเดินเร็วกับกลุ่มขี่จักรยานแตกต่างกัน

 

 

 

ขอบเขตของการวิจัย

1.      ทำการศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน  จำนวน 842 คนทั่วประเทศ เป็นกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม

2.      ทำการศึกษาทดลองเปรียบเทียบรูปแบบการออกกำลังกายการเดินเร็ว และการขี่จักรยาน เป็นการทดลองแบบมีการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการทดลอง จำนวน        ผู้ทดลอง 60  คน

3.      ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

                              ตัวแปรอิสระ (Independent variable) ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน    

                                        ตัวแปรตาม (Dependent variable) ได้แก่ สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ

ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาไว้ดังต่อไปนี้

4.      ขอบเขตด้านเนื้อหาที่ศึกษา

1. ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายและรูปแบบ        การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

2. สำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายและรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

3. ทดลองรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

4.      ทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.      ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

2.      ทำให้ทราบถึงรูปแบบการออกกำลังกายต่างๆ ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย       ที่สัมพันธ์กับสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

3.       เป็นประโยชน์ต่อบุคคลและคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินใน         การพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป


กรอบแนวคิดในการวิจัย


ศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
 
 


 

 

 


 

 


การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม
สำหรับที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

 
 
ทดลองรูปแบบ
และวิธีการออกกำลังกาย
ที่เหมาะสมสำหรับที่มี
ภาวะน้ำหนักตัวเกิน
 

พฤติกรรมการออกกำลังกายของที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

ปัจจัยส่วนบุคคล
ของที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

ทดสอบสมรรถภาพ
ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

 
ประเมินสมรรถภาพ
ทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย

1.          คนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน หมายถึง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 25 - 29

2.      สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่เหนื่อยอ่อนจนเกินไปและยังมีแรงพอที่จะประกอบกิจกรรมการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี โดยดูองค์ประกอบด้าน สัดส่วนร่างกาย ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัว

3. การออกกำลังกาย หมายถึง  การกำหนดกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมและจัดให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ  เพื่อให้พลังงานต่างๆในร่างกายได้ใช้ไปอย่างถูกต้องและสมดุล  โดยการเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมและคำนึงถึงปริมาณของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย     

4. การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน หมายถึง กิจกรรมการออกกำลังกายที่ได้จากการสำรวจแล้วนำหลักการ ทฤษฎีการออกกำลังกายมาประยุกต์กับการทดลองด้วยการเดินเร็วและการขี่จักรยานเพื่อให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน

5. การทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ หมายถึง การหาค่าสมรรถภาพทางกาย โดยใช้กิจกรรมทางกายประเมินค่าความสามารถของร่างกายประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว การใช้ออกซิเจนสูงสุด และไขมันใต้ผิวหนัง

 

วิธีดำเนินการวิจัย

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้

 

รูปแบบการวิจัย

        รูปแบบการวิจัยได้วางแผนการศึกษาวิจัยไว้ 2 รูปแบบ  คือ

        1.  การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การศึกษารูปแบบและวิธีการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน

          2.  การวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Research) ทดลองโปรแกรมการออกกำลังกาย         2  รูปแบบ  ได้แก่  การเดินเร็ว  และการขี่จักรยาน

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

 การวิจัยเชิงสำรวจ

            คณะผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มในการสำรวจข้อมูลของคนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินตามแหล่งข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมการควบคุมโรค พ.ศ. 2549 เป็นจำนวน  842 คน           เป็นตัวแทนของประชากรคนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินทั้งประเทศ

            คณะผู้วิจัยได้กำหนดสถานที่ในการสำรวจข้อมูลของคนอ้วนไว้ 5 ภาค คือ ภาคเหนือ   ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ภาคละ 5 จังหวัด เป็นตัวแทนของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย

               1.  สถานที่สำรวจ

                   คณะผู้วิจัยได้กำหนดสถานที่ในการสำรวจข้อมูลของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินตามแหล่งข้อมูล ของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2549 ที่แสดงความชุกของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน(ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ม2) ในประชากรอายุ 15-74 ปี ตามจังหวัดต่าง ๆ ไว้ ดังนี้ 

 

ตารางที่ 1

ภาค / จังหวัด
ร้อยละผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน(ดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ม2)
จำนวน
ประชากร
จำนวนกลุ่ม
ตัวอย่างที่เก็บข้อมูล
เหนือ
 
 
 
ตาก
17.59
91,854
19
เชียงใหม่
17.94
296,012
52
สุโขทัย
20.03
122,255
20
พิจิตร
24.51
136,960
29
เพชรบูรณ์
17.59
176,333
37
กลาง
 
 
 
ชัยนาท
16.95
57,652
12
ปทุมธานี
19.64
60,145
33
ลพบุรี
20.97
57,684
33
สมุทรปราการ
16.31
75,744
37
กรุงเทพมหานคร
23.82
1,347,963
271
ใต้
 
 
 
ระนอง
16.78
9,889
6
ชุมพร
14.26
7,844
14
กระบี่
13.36
2,861
11
ตรัง
18.68
12,462
23
สงขลา
16.45
214,248
35
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ชัยภูมิ
14.37
60,503
33
อุดร
19.54
97,751
52
มหาสารคาม
22.08
206,864
40
ขอนแก่น
18.21
318,227
56
ศรีสะเกษ
9.8
141,510
29
รวม
4,324,761
842

ที่มา : สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2549

            2.  เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ

            คณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจข้อมูลของคนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินเป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 64 ข้อ แบบสัมภาษณ์นี้แบ่งข้อมูลเป็น 3 ตอน คือ

            ตอนที่ 1 เป็นการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล มีจำนวน 11 ข้อ

            ตอนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ มีจำนวน 28 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 12 ถึงข้อ 39 ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

                        ช่วงที่ 1 เป็นการสัมภาษณ์ถึงข้อมูลสุขภาพทั่วไป จำนวน 4 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 12 ถึงข้อ 15

                        ช่วงที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์ถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อวิเคราะห์โรค จำนวน  24 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 16 ถึงข้อ 39

              ตอนที่ 3 เป็นการสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ชีวิต จำนวน 25 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 40 ถึงข้อ 64 โดยแบ่งเนื้อหาการสัมภาษณ์ดังนี้

                        พฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 4 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 41 ถึงข้อ 43

                        พฤติกรรมการดื่มสุรา จำนวน 4 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 44 ถึงข้อ 47

                        พฤติกรรมการออกกำลังกาย จำนวน 6 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 48 ถึงข้อ 53

                        พฤติกรรมการบริโภค จำนวน 11 ข้อ คือ ตั้งแต่ข้อ 54 ถึงข้อ 64

             3.  สถิติที่ใช้ในการสำรวจ

              การสุ่มตัวอย่าง

              คณะผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎีของ เชฟเฟ่ ในการหาจำนวนของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ และใช้การสุ่มแบบจำเพาะเจาะจงในการคัดเลือกภาคเพื่อสำรวจ จากนั้นใช้การสุ่มอย่างง่ายในการคัดเลือกจังหวัดในแต่ละภาค  ส่วนผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ คณะผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง

       การวิจัยเชิงทดลอง

              คณะผู้วิจัยได้จัดแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เป็นชายและหญิงกลุ่มละ 10 คน  ซึ่งแต่ละกลุ่ม มีช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 25 ปี โดย

                กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยใช้รูปแบบการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว

                กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ออกกำลังกายโดยใช้รูปแบบการออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยาน

                กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุม

            4.  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

            คณะผู้วิจัยได้กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองของแต่ละกลุ่มดังนี้

               กลุ่มที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว

               กลุ่มที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยาน

               กลุ่มที่ 3 กลุ่มควบคุม ไม่ได้มีการให้โปรแกรมแต่อย่างใด

               วิธีการทดลอง

             กลุ่มที่1 โปรแกรมการออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว วิธีการ ( ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน )

                   ช่วงสัปดาห์ที่  1 – 2   ตั้งเป้าอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่ 55 % ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 30 นาที ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                      ช่วงสัปดาห์ที่  3 – 4 ตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่  60 %  ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 40 นาที  ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                      ช่วงสัปดาห์ที่  5 – 6  ตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่  65 %  ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 50  นาที  ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                      ช่วงสัปดาห์ที่  7 – 8  ตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่  70 %  ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 50  นาที  ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

          กลุ่มที่ 2  โปรแกรมการออกกำลังกายโดยการขี่จักรยาน  วิธีการ ( ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน )

                   ช่วงสัปดาห์ที่  1 – 2   ตั้งเป้าอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่ 55 % ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 30 นาที ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                      ช่วงสัปดาห์ที่  3 – 4 ตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่  60 %  ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 40 นาที  ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                      ช่วงสัปดาห์ที่  5 – 6  ตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่  65 %  ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 50  นาที  ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                      ช่วงสัปดาห์ที่  7 – 8  ตั้งเป้าหมายอัตราการเต้นชีพจรของผู้ถูกทดลองที่  70 %  ของอัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด เวลาที่ใช้ในการทดลอง 50  นาที  ทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน

                  คณะผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติและเก็บข้อมูลการทดลองดังนี้

                        -  คณะผู้วิจัยได้ทำการตรวจวัดสมรรถภาพทางกายของผู้เข้าร่วมทดลองทุกคน

                        -  คณะผู้วิจัยได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขั้นตอนการปฏิบัติ ระยะเวลา และวิธีเก็บข้อมูล พร้อมทั้งสาธิตให้ผู้เข้าร่วมทดลองทุกคนได้รับทราบ เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมือนกัน และให้ผู้เข้าร่วมทดลองทุกคนลงนามยินยอมเข้าร่วมให้ข้อมูลวิจัย

                        -  คณะผู้วิจัยได้จัดแบ่งผู้เข้าร่วมทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม แนะนำเจ้าหน้าที่ที่เป็นปรึกษาของกลุ่ม พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องภายในกลุ่มอีกครั้งหนึ่ง

                        - ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคน ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้  โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของกลุ่มคอยติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติ

                         - ช่วงกลางการทดลองคณะผู้วิจัยทำการตรวจวัดสมรรถภาพทางกายของผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคน

                         - เมื่อครบกำหนด คณะผู้วิจัยได้ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้เข้าร่วมทดลองอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งเก็บสมุดบันทึกข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ

                  เครื่องมือในการทดสอบสรรถภาพทางกาย ใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนทั่วไป   การทดสอบสมรรถภาพทางกายประกอบด้วย

1)      การหาดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI)  เพื่อชี้วัดถึงความเหมาะสมของ

ขนาดรูปร่างแต่ละคนจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง

2)    การวัดนั่งงอตัว (Sit and Reach Test) เพื่อชี้วัดถึงความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง หลังส่วนล่าง

3)    จักรยานวัดงาน เพื่อชี้วัดถึงประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนโลหิต

4)    แรงบีบมือ เพื่อชี้วัดถึงความแข็งแรงชองกล้ามเนื้อมือ และแขน

5)    แรงเหยียดขา เพื่อชี้วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

6)    ความดันโลหิต เพื่อชี้วัดความปกติหรือผิดปกติของความดันโลหิต

7)    วัดไขมันใต้ผิวหนัง เพื่อชี้วัดปริมาณไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง

                              ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและการตรวจสอบเครื่องมือ

               1)  แบบสอบถาม  เพื่อหารูปแบบและวิธีการออกกำลังกาย โดยการ

                 -  ศึกษาค้นคว้า  เอกสาร ตำรา วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                  -  สร้างแบบสอบถามแบบเลือกตอบและแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  อันดับ (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert)

                 - เมื่อสร้างเครื่องมือในการศึกษาวิจัยเสร็จแล้วได้นำแบบสอบถามเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Content Validity) แล้วนำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มาปรับปรุงแก้ไข แบบสอบถามนั้น จากนั้นนำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try-out) กับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย แล้วนำมาหาความเชื่อมั่น โดยกำหนดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบาค  (Cronbach’s Alpha Coefficient)

                2)  แบบทดลอง

             - ศึกษาค้นคว้า เอกสาร  ตำรา วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

             - นำข้อมูลที่ได้จากการจัดอันดับการออกกำลังกายของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินในอันดับ 1 , 2 มาสร้างแบบทดลอง

             - เมื่อสร้างเครื่องมือในการศึกษาวิจัยเสร็จแล้ว  นำแบบทดลองไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Content Validity) แล้วนำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มาปรับปรุงแก้ไข แบบทดลองนั้น จากนั้นนำแบบทดลองไปทดลองใช้ (Try-out) กับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน10 ราย แล้วนำมาหาความเชื่อมั่น โดยกำหนดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบาค  (Cronbach’s Alpha Coefficient)

 

 

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในงานวิจัย

สถิติที่ใช้ในการทดลอง

              การสุ่ม

-          เชิงสำรวจ ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน

-          เชิงทดลอง ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง

            การวิเคราะห์ข้อมูล

-          ค่าสถิติพื้นฐาน  ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน (SD)

-          การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้น ได้แก่ การทดสอบของโคลโมกอเรอร์ สไมเนอร์(Kolmogoror Smirnor test)

-          การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ทางเดียวแบบวัดซ้ำ(One-way Repeated Measurement Analysis)

สรุปผลการวิจัย

            1. ข้อมูลเชิงสำรวจ

จากการสำรวจข้อมูลผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 842 คน ประกอบด้วย เพศหญิง จำนวน 435 คน คิดเป็นร้อยละ 51.66 เพศชาย จำนวน 407 คิดเป็นร้อยละ 48.34 ส่วนใหญ่มีน้ำหนัก 75 กิโลกรัม จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 8.19   ส่วนสูง 160 เซนติเมตร จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 11.05  ดัชนีมวลกาย เท่ากับ 26 จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 15.20  รอบเอว เท่ากับ 85 เซนติเมตร จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 11.40  รอบสะโพก เท่ากับ 100 เซนติเมตร จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 11.88   มีอายุอยู่ในช่วง 20 29 ปี จำนวน 239 คน คิดเป็นร้อยละ 28.38  สถานภาพสมรส จำนวน 460 คน คิดเป็นร้อยละ 54.63  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน คิดเป็นร้อยละ 38.60  นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 768 คน คิดเป็นร้อยละ 91.21  รับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จำนวน  289 คน คิดเป็นร้อยละ 34.32  มีรายได้อยู่ในช่วง 5,001 -  15,000 บาท จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 41.57  เคยได้รับความรู้หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการออกกำลังกาย จำนวน 764 คน คิดเป็นร้อยละ 90.74  และมีแหล่งความรู้หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการออกกำลังการคือ โทรทัศน์ จำนวน 553 คน คิดเป็นร้อยละ 65.68

ส่วนใหญ่จะตรวจสุขภาพประจำปี จำนวน 421 คน คิดเป็นร้อยละ 50  ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง จำนวน 475 คน คิดเป็นร้อยละ 56.40   กรณีที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 13.30   ช่วงระยะเวลาของโรค 1 5 ปี จำนวน 155 คน คิดเป็นร้อยละ 18.41 อาการปัจจุบันของโรคดีขึ้น จำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 19.48  ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 754 คน คิดเป็นร้อยละ 89.55  และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 594 คน คิดเป็นร้อยละ 70.55

ผลการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกายพบว่า

1. กิจกรรมในเวลาว่าง ส่วนใหญ่ คือ ดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ จำนวน 624 คน คิดเป็นร้อยละ 74  รองลงมาคือ ออกกำลังกายและเล่นกีฬา จำนวน 587 คน คิดเป็นร้อยละ 70

            2. พฤติกรรมการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกาย จำนวน 760 คน คิดเป็นร้อยละ 90

            3. แรงจูงใจในการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ต้องการมีสุขภาพดี จำนวน 675 คน คิดเป็นร้อยละ 80 รองลงมาคือต้องการลดน้ำหนัก จำนวน 417 คน คิดเป็นร้อยละ 50

            4. ปัญหาที่ไม่สามารถออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ คือ ไม่มีเวลา จำนวน 548 คน คิดเป็นร้อยละ 65 รองลงมา คือ ความเจ็บป่วย จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 15

            5. กิจกรรมที่ใช้ในการออกกำลังกายเป็นประจำ ส่วนใหญ่ คือ วิ่งเหยาะ จำนวน 372 คน คิดเป็นร้อยละ 44  รองลงมา คือ เดินเร็ว จำนวน 360 คน คิดเป็นร้อยละ 43

            6. สถานที่ที่ไปออกกำลังกายเป็นประจำ  ส่วนใหญ่ คือ สนามกีฬาของทางราชการหรือสถานศึกษา จำนวน 408 คน คิดเป็นร้อยละ 49  รองลงมา คือ สวนสาธารณะ จำนวน 243 คน คิดเป็นร้อยละ 29

            7. ลักษณะการออกกกำลังกาย ส่วนใหญ่ คือ ออกกำลังกายคนเดียว จำนวน 297 คน คิดเป็นร้อยละ 35  รองลงมาคือ ออกกำลังกายกับเพื่อน จำนวน 285 คน คิดเป็นร้อยละ 34

            8. ความหนักของการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ คือ รู้สึกเหนื่อยแต่ยังพูดคุยกับคนอื่นได้ขณะออกกำลังกาย จำนวน 618 คน คิดเป็นร้อยละ 73

            9. จำนวนครั้งในการออกกำลังกายแต่ละสัปดาห์ ส่วนใหญ่  3 4 วันต่อสัปดาห์ จำนวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 40

            10. ระยะเวลาในการออกกำลังการแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่  30 45 นาที จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 25

            11. ช่วงเวลาที่มักจะไปออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ คือ ตอนเย็น จำนวน 713 คน คิดเป็นร้อยละ 85

            12. การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) ก่อนออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ อบอุ่นร่างกายทุกครั้ง จำนวน 362 คน คิดเป็นร้อยละ 43

            13. ระยะเวลาในการอบอุ่นร่างกาย (Warm up)  ส่วนใหญ่ คือ 10 15 นาที จำนวน 345 คน คิดเป็นร้อยละ 41

            14. การผ่อนหยุดร่างกาย (Cool down) หลังการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ ผ่อนหยุดร่างกายทุกครั้ง จำนวน 426  คน คิดเป็นร้อยละ 50.60

            15. ระยะเวลาในการผ่อนหยุดร่างกาย (Cool down) ส่วนใหญ่  5 10 นาที จำนวน 383 คน คิดเป็นร้อยละ 48.85

            16. การได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ คือ ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น จำนวน 789 คน  คิดเป็นร้อยละ 93.71  รองลงมาคือ ทำให้สุขภาพจิตดี มีอารมณ์แจ่มใส่ ผ่อนคลายความเครียด จำนวน 740 คน คิดเป็นร้อยละ 87.89

            17. การได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับบาดเจ็บ จำนวน 578 คน คิดเป็นร้อยละ 71.18

            18. การปฏิบัติกรณีได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ รักษาเอง จำนวน  586 คน คิดเป็นร้อยละ  69.60

            19. ค่าใช้จ่ายในการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่  คือ ไม่มีค่าใช้จ่าย จำนวน 594 คน คิดเป็นร้อยละ 70.55

            20. กิจกรรมที่ปฏิบัติประจำทุกวัน ส่วนใหญ่ คือ ทำความสะอาดบ้าน จำนวน 662 คน คิดเป็นร้อยละ 78.62   รองลงมาคือ ล้างจาน จำนวน 599 คน  คิดเป็นร้อยละ 71.14

            21. กิจกรรมที่ปฏิบัติ 3 4  ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ คือ ทำความสะอาดบ้าน จำนวน 526 คน     คิดเป็นร้อยละ 62.47    รองลงมาคือ รีดผ้า จำนวน 528 คน  คิดเป็นร้อยละ 62.71

            22. กิจกรรมที่ปฏิบัติอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์  ส่วนใหญ่ คือ ล้างรถ จำนวน 573 คน คิดเป็น   ร้อยละ 68.05    รองลงมาคือ ประกอบอาหาร จำนวน 484 คน  คิดเป็นร้อยละ 57.48

 

 

 

 

2. ข้อมูลเชิงทดลอง       

                   ก่อนการทดลอง ค่าเฉลี่ยอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และ   ชีพจรขณะพัก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว การใช้ออกซิเจนสูงสุด พลังกล้ามเนื้อในการกระโดด และไขมันใต้ผิวหนัง ของกลุ่มเดิน กลุ่มขี่จักรยาน และกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   ภายหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตขณะบีบตัว ชีพจรขณะพัก และไขมันใต้ผิวหนัง ของกลุ่มเดิน กลุ่มขี่จักรยาน และกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความดันโลหิตขณะคลายตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว และการใช้ออกซิเจนสูงสุด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                 ภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ย ดัชนีมวลกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน และความอ่อนตัว ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนความดันโลหิตขณะบีบตัวและคลายตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การใช้ออกซิเจนสูงสุด และไขมันใต้ผิวหนัง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

กลุ่มเดิน ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะบีบตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

กลุ่มขี่จักรยาน มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว และการใช้ออกซิเจนสูงสุด ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05

 

อภิปรายผลการวิจัย

            กลุ่มเดินเร็ว มีค่าสมรรถภาพทางกายแตกต่างกัน คือ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว แตกต่างจากกลุ่มควบคุม โดยพบว่าความดันขณะหัวใจบีบตัวลดลง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหลังทดลอง 4 สัปดาห์และ 8 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เป็นเพราะความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวนั้น ไม่สามารถลดลงได้มากกว่านี้ เพราะความดันโลหิตช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงความดันโลหิตระดับปกติ นอกจากนี้ยังพบว่ามีค่าสมรรถภาพทางกายในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน พบว่าหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ไม่แตกต่างจากก่อนทดลอง แต่หลังทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน มีความแตกต่างจากก่อนการทดลอง อาจจะเป็นเพราะการเดินเร็วมักจะมีการแกว่งแขนตามไปด้วย จึงทำให้กล้ามเนื้อแขนได้ออกกำลังกายแต่ไม่หนักเท่าใดนัก จึงทำให้ความแข็งแรงไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ หากต้องการกล้ามเนื้อแขนแข็งแรง ต้องใช้เวลา 8 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้งานวิจัยที่คล้องอื่นๆ เช่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2544) ได้พบว่า การเดินเร็ว มีผลทำให้ค่าความดันโลหิตขณะบีบตัวลดลง เพราะการเดินเร็วเป็นการออกกำลังกายเพื่อความอดทนของหัวใจและปอด หรือเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดหนึ่ง เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายเป็นการใช้แรงของกล้ามเนื้อและร่างกายในการเคลื่อนไหว เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี โดยจะใช้กิจกรรมใดเป็นสื่อก็ได้ เช่น กายบริหาร เดินเร็ว วิ่งเหยาะหรือการฝึกกีฬาที่มิได้มุ่งที่การแข่งขัน (กรมพลศึกษา,2534) เป็นการกระทำที่ให้ร่างกายได้ใช้แรงหรือกำลังที่มีอยู่ในตัว เพื่อให้ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน การกระโดด การวิ่ง การทำงาน หรือในการเล่นกีฬา การออกกำลังกายในแต่ละกิจกรรม ร่างกายต้องใช้กำลังมากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานหรือหนักเบา (วรศักดิ์ เพียรชอบ,2523)

กลุ่มขี่จักรยาน มีค่าสมรรถภาพทางกายแตกต่างกัน คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ มีความแตกต่างจากก่อนการทดลอง แต่เมื่อทดลองต่อไปอีก 4 สัปดาห์ (รวม 8 สัปดาห์) พบว่าไม่มีความแตกต่างจาก 4 สัปดาห์แรก อาจเป็นเพราะการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังกายโดยใช้กล้ามเนื้อขาโดยตรง สามารถทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงขึ้นภายใน 4 สัปดาห์แต่เมื่อออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ต่อไป กล้ามเนื้อขาจะมีความแข็งแรงขึ้น แต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาจเห็นได้ไม่ชัดนัก  ค่าความอ่อนตัว พบว่าหลังทดลอง 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ความอ่อนตัว มีความแตกต่างจากก่อนการทดลอง เนื่องจากการขี่จักรยานเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ต้องก้มๆ เงยๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว หลังและขาต้องยืดและหดตลอดเวลา กล้ามเนื้อจึงมีความยืดหยุ่นดีขึ้น ส่วนช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 พบว่าไม่แตกต่างกัน เนื่องจากช่วงของการเคลื่อนไหวไม่ได้เปลี่ยนขนาดหรือมุมในการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น ทำให้ความอ่อนตัวไม่เพิ่มขึ้นมากนัก  ส่วนการใช้ออกซิเจนสูงสุด พบว่าหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ จึงจะมีความแตกต่างกัน คือร่างกายมีการใช้ออกซิเจนมากขึ้น จะเห็นได้ชัดหลังการทดลองไปแล้ว 8 สัปดาห์ สอดคล้องกับนงพะงา ศิวานุวัฒน์(2550) ได้เปรียบเทียบผลของการเดินแบบสะสมและแบบต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับสุขภาพของหญิงวัยทำงาน การเดินแบบสะสม โดยเดินเป็นช่วงๆ ละ 10 นาที แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10 นาที ช่วงกลางวัน 10 นาที และช่วงเย็น 10 นาที สะสม 30 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ หรือการเดินแบบต่อเนื่อง โดยเดินแบบต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ โดยเดินบนสายพานด้วยความหนักของงาน 65-75 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด พบว่า มีผลดีต่อสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิต ความจุปอด ความอ่อนตัว ความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

            ค่าเฉลี่ยของสมรรถภาพทางกายของการออกกำลังกายของกลุ่มเดินเร็วขี่จักรยาน และกลุ่มควบคุม  พบว่า ความดันโลหิตขณะคลายตัวมีความแตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่นำมาทดลองทั้งหมดเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน ดังนั้นทุกกลุ่ม จึงมีแนวโน้มที่ร่างกายจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เพราะอาจจะยังไม่ค่อยให้ความใส่ใจในสุขภาพมากนักเนื่องจากอายุยังไม่มาก (ไม่เกิน 30 ปี) เมื่อนำมาตรวจสมรรถภาพทางกายจึงมีค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างแตกต่างกัน

หลังจากการทดลอง 4 สัปดาห์ พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และการใช้ออกซิเจนสูงสุด มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มขี่จักรยาน และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และความอ่อนตัว ระหว่างกลุ่มขี่จักรยานและกลุ่มเดินเร็ว มีความแตกต่างกัน ส่วนกลุ่มควบคุมและกลุ่มเดินเร็ว ไม่มีความแตกต่างกันในสมรรถภาพทางกายใด ๆ เนื่องจากหลังจากการทดลองซึ่งใช้เวลาเพียง 4 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่อาจจะยังไม่เห็นความแตกต่างของร่างกายเท่าใดนัก เพราะการเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่เหนื่อยน้อยกว่าการขี่จักรยาน จึงเห็นความแตกต่างของร่างกายไม่ชัดเจนนักหากเปรียบเทียบในเวลา 4 สัปดาห์

            หลังจากการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่า สมรรถภาพทางกายของกลุ่มขี่จักรยานและกลุ่มเดินเร็ว กลับมีความแตกต่างกันของความดันโลหิตขณะหัวใจบีบ การใช้ออกซิเจนสูงสุด และระดับไขมันที่ลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบ การใช้ออกซิเจนสูงสุด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มขี่จักรยาน มีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเพราะว่าการเดินเร็วสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้  การเดินและการขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) ซึ่งกล้ามเนื้อจะใช้ออกซิเจนในระบบของการใช้พลังงาน อันจะทำให้ปอด หัวใจและหลอดเลือด ทำงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ออกซิเจนไปสู่กล้ามเนื้อมีปริมาณเพียงพอ (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2547) และจากการสังเกตและสัมภาษณ์กลุ่มทดลอง หลังการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ไปแล้ว พบว่ากลุ่มทดลองมีร่างกายแข็งแรงขึ้น กระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว ซึ่งสอดคล้องกับ วิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาของอเมริกา (ACSM,2006) ที่ว่าการเดินเป็นกิจกรรมทางเลือกที่สามารถทำได้ทันที่ ร่างกายไม่ต้องทนต่อความหนักในการออกกำลังกาย ปฏิบัติได้ง่าย แม้ว่าเราจะเดินช้าๆ ร่างกายจะใช้พลังงานไปอย่างน้อย 2 METs และร่างกายของเราจะมีพลังงานที่เพียงพอที่จะใช้ในการออกกำลังกายด้วยการเดิน และถ้ายิ่งมีการเดินเร็วๆ ด้วยแล้ว ทำให้มีความหนักของการออกกำลังกายที่เพียงพอที่จะไปเพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจนหรือช่วยพัฒนาการใช้ออกซิเจนสูงสุด ช่วยลดน้ำหนักและไขมัน โดยเฉพาะคนที่ทำงานนั่งโต๊ะ หรือวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  และชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์ ได้กล่าวว่า การขี่จักรยานต่อเนื่องเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีผลทำให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดี การไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น รวมทั้งเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะสำคัญในร่างกาย ได้แก่ สมอง ไต ลดการเก็บสะสมตะกรันไขมันในหลอดเลือดทั่วร่างกาย จึงสามารถป้องกันภาวะเส้นเลือดตีบตันในอวัยวะสำคัญดังกล่าว

การเดินเร็ว มีผลทำให้ค่าความดันโลหิตขณะบีบตัวลดลง เพราะการเดินเป็นการออกกำลังกายเพื่อความอดทนของหัวใจและปอด หรือเรียกกันว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดหนึ่ง เช่น การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ  ขี่จักรยาน เป็นต้น(กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2544 )  ซึ่งการออกกำลังกายเป็นการใช้แรงของกล้ามเนื้อและร่างกายในการเคลื่อนไหว เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี โดยจะใช้กิจกรรมใดเป็นสื่อก็ได้ เช่น กายบริหาร เดินเร็ว วิ่งเหยาะ หรือการฝึกกีฬาที่มิได้มุ่งที่การแข่งขัน  (กรมพลศึกษา,2534) เป็นการกระทำที่ให้ร่างกายได้ใช้แรงหรือกำลังที่มีอยู่ในตัว เพื่อให้ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว เช่น           การเดิน การกระโดด การวิ่ง การทำงาน หรือในการเล่นกีฬา การออกกำลังกายในแต่ละกิจกรรม ร่างกายต้องใช้กำลังมากน้อยแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานหรือหนักเบา  (วรศักดิ์ เพียรชอบ,2523)

       การเดินและการขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) ซึ่งกล้ามเนื้อจะใช้ออกซิเจนในระบบของการใช้พลังงาน อันจะทำให้ปอด หัวใจและหลอดเลือด ทำงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ออกซิเจนไปสู่กล้ามเนื้อมีปริมาณเพียงพอ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้คือ ชนิดของการออกกำลังกายที่ดี จะต้องใช้กล้ามเนื้อหลายมัดไปพร้อมกัน   มีช่วงเกร็งและผ่อนเป็นจังหวะสลับกัน เพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้เพียงพอและทำให้อัตราเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ได้แก่ การวิ่งเหยาะ การเดินเร็ว  การขี่จักรยาน และการว่ายน้ำ  เป็นต้น ความหนักของการออกกำลังกาย จะต้องเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์ โดยที่ไม่เพิ่มอันตรายหรือการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย  และระยะเวลาของการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ควรอยู่ระหว่าง 20-30 นาที แต่อาจออกกำลังกายได้นานถึง 60 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ออกกำลังกายและชนิดของการออกกำลังกาย ประการสำคัญถ้าไม่สามารถออกกำลังกายติดต่อกันได้รวดเดียวก็อาจมีช่วงพักสั้น ๆ ได้ แต่ควรให้ระยะเวลารวมของการออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 20 นาที และควรจะออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งถ้าปฏิบัติได้ตามนี้อย่างสม่ำเสมอก็จะได้ผลจากการออกกำลังกายเต็มที่ในเวลาประมาณ 6 เดือน (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2547)

               การเดินเร็ว เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเครียดของร่างกายมากเกินไป ช่วยลดโคเลสเตอรอล  การเผาผลาญพลังงานดี   ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ลดน้ำตาลในเลือด การเดินจะเผาผลาญพลังงาน ประมาณ 300 แคลอรีต่อชั่วโมง  การเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ซึ่งช่วยให้หัวใจและปอดแข็งแรง ช่วยลดความดันโลหิตและลดชีพจรขณะพัก การเดินเร็วยังเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์  ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดและคนที่มีระบบการไหลเวียนโลหิตของแขนขาไม่ดี การเดินเร็วสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้นและยังสามารถวินิจฉัยได้ด้วยว่าถ้าผู้ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อน การออกกำลังกายในทางจิตวิทยา ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถบรรเทาความกดดัน ความวิตกกังวลและความเครียดได้  เพราะการเดินเร็ว จะสร้างฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน ปรับความสมดุลให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี จะมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว ปัญหาความดันโลหิตสูง  ปัญหาโคเลสเตอรอลตามมา  จึงควรตรวจสุขภาพและสมรรถภาพทางกายก่อนออกกำลังกายเสมอ  การเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีความแข็งแรง ลดความดันโลหิต นอนหลับสบาย ช่วยในระบบการย่อยอาหาร แก้ปัญหาท้องผูก ลดการสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ก่อให้เกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานที่เป็นส่วนเกินของร่างกาย

สอดคล้องกับนงพะงา ศิวานุวัฒน์(2550) ได้เปรียบเทียบผลของการเดินแบบสะสมและแบบต่อเนื่องที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับสุขภาพของหญิงวัยทำงาน การเดินแบบสะสม โดยเดินเป็นช่วงๆ ละ 10 นาที แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10 นาที ช่วงกลางวัน 10 นาที และช่วงเย็น 10 นาที สะสม 30 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ หรือการเดินแบบต่อเนื่อง โดยเดินแบบต่อเนื่อง 30 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ โดยเดินบนสายพานด้วยความหนักของงาน 65-75 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด พบว่า มีผลดีต่อสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิต ความจุปอด ความอ่อนตัว ความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา

การเดินและขี่จักรยานมีผลทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนเพิ่มขึ้น เพราะในการทดลองแต่ละครั้ง จะให้อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดก่อนฝึกทุกครั้ง ทำให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตทำงานดีขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจทำงานเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างเพียงพอ ปรับความดันโลหิตให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานในขณะนั้น ทำให้ลดปัญหาความเสี่ยงต่อหัวใจล้มเหลว หัวใจวายเฉียบพลัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดคลื่นหัวใจผิดปกติและปัญหาความดันโลหิตขึ้นสูง อัตราการถ่ายเทออกซิเจนจากเลือดไปยังกล้ามเนื้อสูงขึ้น อัตราการหายใจไม่ถี่หรือหอบเกินไปขณะเล่นกีฬา อัตราการหายใจทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนที่หายใจเข้าไปได้อย่างเพียงพอ ไม่เหนื่อยหอบเร็ว เพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจน เพิ่มความจุของปอด ปอดสามารถรับออกซิเจนที่หายใจเข้าไปได้มากขึ้น เลือดก็ได้รับออกซิเจนมากขึ้น การหายใจจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อดี  กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นและช่วงของการเคลื่อนไหวของข้อต่อให้มากขึ้น การเล่นกีฬาจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้เป็นอย่างดี  ทำให้ระบบประสาททำงานได้เต็มที่ การสั่งงานของระบบประสาทรวดเร็วขึ้น กระตุ้นให้ระบบการเคลื่อนไหวของร่างกายทำงานอย่างประสานสัมพันธ์กัน เกิดความคล่องแคล่วว่องไว มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดี เล่นกีฬาได้อย่างเต็มสมรรถนะ ทักษะการเล่นจะดีขึ้นเมื่อร่างกายพร้อม เล่นกีฬาได้อย่างสนุกสนานและแสดงทักษะได้สวยงาม  ทำให้เพิ่มแรงจูงใจที่จะเล่นกีฬาหรือแข่งขัน มีจิตใจที่ฮึกเหิมพร้อมที่จะเล่น เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะหรือแสดงทักษะการเล่นอย่างเต็มที่ ช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียดต่างๆ การอบอุ่นร่างกายจึงเป็นผลดีต่อจิตใจและอารมณ์เป็นอย่างยิ่ง  ลดการบาดเจ็บจากการใช้เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายมากเกินไป เนื้อเยื่อต่างๆ ทนต่อการใช้งานที่หนักขึ้น ทำให้ไม่ฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่าย ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บได้มากขึ้น สอดคล้องกับเสาวลักษณ์ สุนทราลักษณ์(2552) ได้ศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านที่มีผลต่อการเผาผลาญพลังงานและการไหลเวียนเลือดชั้นคิวทาเนียสในหญิงน้ำหนักปกติและหญิงน้ำหนักเกิน อาสาสมัครเป็นนิสิตหญิง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 42 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มน้ำหนักปกติ จำนวน 20 คน และกลุ่มน้ำหนักเกิน จำนวน 22 คน ทั้งสองกลุ่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยการปั่นจักรยาน และกลุ่มออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการใช้ยางยืด การออกกำลังกายทั้งสองแบบใช้ความหนักของการออกำลังกายที่ 64-76 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 30 นาที ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ทำการวัดตัวแปรพื้นฐานทางสรีรวิทยาทั่วไป และการไหลเวียนของเลือดชั้นคิวทาเนียสหลังการปิดกั้นการไหลของเลือด รวมถึงได้ทำการประเมินการใช้พลังงานของการออกกำลังกายแต่ละรูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกายและความดันโลหิตของกลุ่มน้ำหนักเกินมีค่าสูงกว่ากลุ่มน้ำหนักปกติ ส่วนสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดในกลุ่มน้ำหนักปกติมีค่าสูงกว่ากลุ่มน้ำหนักเกิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  การเผาผลาญพลังงานของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน มีค่าสูงกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในกลุ่มน้ำหนักปกติและกลุ่มน้ำหนักเกิน ดังนั้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้าน น่าจะเป็นการออกกำลังกายทางเลือกสำหรับผู้ต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ต้องการลดน้ำหนัก

กลุ่มขี่จักรยาน มีค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว และการใช้ออกซิเจนสูงสุด เพราะการขี่จักรยานมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ดังที่นายแพทย์ชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์ ได้กล่าวว่า การขี่จักรยานต่อเนื่องเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีผลทำให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดี การไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น รวมทั้งเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะสำคัญในร่างกาย ได้แก่ สมอง ไต ลดการเก็บสะสมตะกรันไขมันในหลอดเลือดทั่วร่างกาย จึงสามารถป้องกันภาวะเส้นเลือดตีบตันในอวัยวะสำคัญดังกล่าว การขี่จักรยานยังทำให้ระบบการหายใจมีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมปอดให้ดีขึ้น และยังเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน ช่วยลดความเครียดในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณเอว สะโพกและขามากขึ้น(www.racing-club.net) การขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และเป็นการออกกำลังกายที่เป็นจังหวะ ไม่หนักต่อไขข้อ ให้ประโยชน์แก่หัวใจ ในแง่ของกลศาสตร์ การขี่จักรยานเป็นการเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพ ใช้แรงน้อยแต่ได้ระยะทางไกล น้ำหนักตัวจะถ่ายไปบนอานและมือจับ ขาก็ไม่ต้องรับน้ำหนักตัวมาก กล้ามเนื้อที่ใช้ในกาขับเคลื่อนเป็นกล้ามเนื้อมัดที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อน่อง นอกจากนั้น การขี่จักรยานเป็นการถีบขาออกจากตัวลงไปทิศทางลงล่าง ที่เราถนัดอยู่แล้ว จึงเป็นการใช้งานของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิ ส่วนความหนักของการออกกำลังกาย ควรให้อยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 25 – 28 กม/ชม อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 75-80 % จะใช้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี/ชม เมื่อทำการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะสามารถลดความอ้วนลงได้(www.doctor.or.th) การขี่จักรยานเป็นวิธีออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ได้ผลเร็วที่สุดวิธีหนึ่ง เป็นวิธีสลายไขมันที่พุง สะโพก ต้นขา อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อต้นขา น่องและเอ็นร้อยหวายแข็งแรงขึ้นด้วย(www.women.sanook.com การออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพความแข็งแรง เป็นการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม ข้อดีของการขี่จักรยาน ทำให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรง และสามารถออกกำลังกายคนเดียวก็ได้

 

ข้อเสนอแนะการวิจัย          

1.      การออกกำลังกายที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงหลักการ ดังนี้คือ ชนิดของการออกกำลังกายที่ดี จะต้องใช้กล้ามเนื้อหลายมัดไปพร้อมกัน มีช่วงเกร็งและผ่อนเป็นจังหวะสลับกัน เพื่อให้เลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้เพียงพอและทำให้อัตราเต้นของหัวใจค่อยๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ การวิ่งเหยาะ การเดินเร็ว  การขี่จักรยาน และการว่ายน้ำ  เป็นต้น ความหนักของการออกกำลังกาย จะต้องเพียงพอที่จะเกิดประโยชน์ โดยที่ไม่เป็นอันตรายหรือการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย  และระยะเวลาของการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ควรอยู่ระหว่าง 30 – 60 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ออกกำลังกายและชนิดของการออกกำลังกาย ประการสำคัญถ้าไม่สามารถออกกำลังกายติดต่อกันได้รวดเดียวก็อาจมีช่วงพักสั้นๆ ได้ แต่ควรให้ระยะเวลารวมของการออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 30 นาที และควรจะออกกำลังกายไม่น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งถ้าปฏิบัติได้ตามนี้อย่างสม่ำเสมอก็จะได้ผลจากการออกกำลังกายเต็มที่ในเวลาประมาณ 6 เดือน

2.      การเดินเร็ว เป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเครียดของร่างกายมากเกินไป ช่วยลดโคเลสเตอรอล  การเผาผลาญพลังงานดี ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ลดน้ำตาลในเลือด การเดินเร็วจะเผาผลาญพลังงาน ประมาณ 300 แคลอรีต่อชั่วโมง ซึ่งการเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก จะช่วยให้หัวใจและปอดแข็งแรง ช่วยลดความดันโลหิตและลดชีพจรขณะพัก การเดินเร็วยังเป็นวิธีการรักษาทางการแพทย์  ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดและคนที่มีระบบการไหลเวียนโลหิตของแขนขาไม่ดี การเดินเร็วสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้มากขึ้นและยังสามารถวินิจฉัยได้ด้วยว่าถ้าผู้ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อน การออกกำลังกายในทางจิตวิทยา ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถบรรเทาความกดดัน ความวิตกกังวลและความเครียดได้  เพราะการเดินเร็ว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน และปรับความสมดุลให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี จะมีปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักตัว ปัญหาความดันโลหิตสูง  ปัญหาโคเลสเตอรอลตามมา จึงควรตรวจสุขภาพและสมรรถภาพทางกายก่อนออกกำลังกายเสมอ  การเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน เพราะจะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีความแข็งแรง ลดความดันโลหิต นอนหลับสบาย ช่วยในระบบการย่อยอาหาร แก้ปัญหาท้องผูก ลดการสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ก่อให้เกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการเผาผลาญพลังงานที่เป็นส่วนเกินของร่างกาย

3.      การขี่จักรยาน เป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และเป็นการออกกำลังกายที่เป็นจังหวะ ไม่หนักต่อไขข้อ ให้ประโยชน์แก่หัวใจ ในแง่ของกลศาสตร์ การขี่จักรยานเป็นการเคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพ ใช้แรงน้อยแต่ได้ระยะทางไกล น้ำหนักตัวจะถ่ายไปบนอานและมือจับ ขาก็ไม่ต้องรับน้ำหนักตัวมาก กล้ามเนื้อที่ใช้ในการขับเคลื่อนเป็นกล้ามเนื้อมัดที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อน่อง นอกจากนั้น การขี่จักรยานเป็นการถีบขาออกจากตัวลงไปทิศทางลงล่าง ที่เราถนัดอยู่แล้ว จึงเป็นการใช้งานของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนความหนักของการออกกำลังกาย ควรให้อยู่ในช่วงความเร็วประมาณ 25 – 28 กม/ชม อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 75-80 % จะใช้พลังงานประมาณ 300 แคลอรี/ชม เมื่อทำการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะสามารถลดความอ้วนลงได้(www.doctor.or.th) การขี่จักรยานเป็นวิธีออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ได้ผลเร็วที่สุดวิธีหนึ่ง เป็นวิธีสลายไขมันที่พุง สะโพก ต้นขา อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อต้นขา น่องและเอ็นร้อยหวายแข็งแรงขึ้นด้วย(www.women.sanook.com การออกกำลังกาย สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพความแข็งแรง เป็นการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้ข้อเข่าเสื่อม ข้อดีของการขี่จักรยาน ทำให้หัวใจแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรง และสามารถออกกำลังกายคนเดียวได้

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยต่อไป

      1. การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

      2. ผลของการออกกำลังกายด้วยวิธีการเดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ที่มีอายุเกิน 40, 50 และ 60 ปี

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

กรรวี  บุญชัย.  (2540).  คิเนสิโอโลยีเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ  :  สำนักงาน

               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กมลพรรธน์ เมฆวรวุฒิ และอัมพร ชัยศิริรัตน์. (2538). คลินิกคนอ้วน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กรมพลศึกษา.  (2542).  การทดสอบและประเมินสร้างสมรรถภาพทางกาย.  กรุงเทพฯ  :       

               โรงพิมพ์การศาสนา.  สำนักงานพัฒนาการพลศึกษา  สุขภาพและนันทนาการ.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2550). รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการ

          ของประเทศไทย ครั้งที่ 4 .. 2538. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหาร

            ผ่านศึก.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2544 ). คู่มือการควบคุมและป้องกันภาวะโภชนาการเกิน

          ในเด็กนักเรียน.(ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)  

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2543). เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูง และ 

เครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทย อายุ 1 วัน 19 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2533). การศึกษาภาวะโภชนาการเกิน

          มาตรฐานในกลุ่มเด็กนักเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมโภชนาการ.

กาญจนา ยังขาว. (2540). ภาวะโภชนาการเกิน: ภัยในยุคโลกาภิวัตน์. นครราชสีมา: ศูนย์              ระบาดวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

คณะทำงานศึกษาภาวะโรคและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ. (2549). ภาวะโรคและปัจจัยเสี่ยงทาง 

          สุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุม สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค : นนทบุรี

จันทร์ฑิตา พฤกษานานนท์. (2545). อ้วนอันตราย.ใกล้หมอ. 26(6): 78-79.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (บรรณาธิการ). (2539) รายงานการสำรวจภาวะสุขภาพอนามัย ของประชากรไทย ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2534 – 2535 กรุงเทพฯ: บริษัท ดีไซร์ จำกัด.

ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม. (2527). พัฒนาการวัยรุ่นและบทบาทครู. เชียงใหม่: โครงการตำรา

            มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ช่อทิพยวรรณ พันธุ์แก้ว. (2543). คู่มือลดความอ้วนแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ยูโรปาเพรส

ชูศักดิ์ เวชแพทย์ และ กัลยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. โรงพิมพ์            ธรรกมลการพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.      

ดุษฏี สุทธิปรียาศรี. (2527). ภาวะโภชนาการเกิน. เอกสารการสอนชุดวิชาโภชนศาสตร์                                                           

            สาธารณสุข สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หน่วยที่ 1 – 7

            มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.   กรุงเทพฯ: บริษัท นวกนก จำกัด.

ดำรง กิจกุศล. (2530). คู่มือลดความอ้วน. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ทวีศักดิ์ ศูนย์กลาง. (2548). การวัดความอ้วน BMI และ Waist/Hip Ratio. วารสารวิทยาศาสตร์      และเทคโนโลยีการกีฬาและสุขภาพ ปี่ที่ 5 ฉบับที่ 1และ 2.

เทวี  รักวานิช . (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ บริโภคนิสัย และการ

          ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันกับภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญา

            วิทยาศาสตร      มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหวิทยาลัย

            มหิดล.

นงพะงา ศิวานุวัฒน์. (2550).  การเปรียบเทียบผลของการเดินแบบสะสมและแบบต่อเนื่องที่

          มีต่อสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับสุขภาพของหญิงวัยทำงาน วารสารวิทยาศาสตร์การ

            กีฬาและสุขภาพ ปี่ที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2550).

เบญจา มุตพันธุ์. (2542). โภชนาการสำหรับคนวัยต่างๆ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

            ขอนแก่น.

ปราณีต ผ่องแผ้ว. (2539). โภชนศาสตร์ชุมชน. กรุงเทพฯ: ลิฟวิ่งทรานส์ มีเดีย.

พนิตตา วงษ์แจ้ง และดวงนภา ปานเพ็ชร. (2544). อิทธิพลของสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ส่งเสริมสุขภาพของเด็กไทย, วารสารเพื่อสุขภาพ. 13(1): 20-22.

มณทิชา อนุกูลวุฒิพงศ์. (2540). พฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

          ของวัยรุ่นไทยในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพาพร หงษ์ชูเวช. (2539). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองในการปรับเปลี่ยน    พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัด   กรมสามัญศึกษา เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรบัณฑิต    สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรศักดิ์  เพียรชอบ. (2523). หลักและวิชาสอนพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนา

            พานิช.

วันเพ็ญ พูลทวี. (2540). ความสัมพันธ์ของอาหารบริโภค ดัชนีมวลกายและระดับไขมันในเลือด  ของหญิงอ้วนวัยผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

วิชัย ตันไพจิตร. (2530). โภชนาการเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย.

วาสนา  คุณาอภิสิทธิ์.  (2541).  หลักสูตรพลศึกษา.  กรุงเทพฯ  :  คณะพลศึกษา  มหาวิทยาลัย

               ศรีนครินทรวิโรฒ.

สมใจ มามีและคณะ. (2535). การศึกษาภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานในกลุ่มเด็กนักเรียน

       มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กองโภชนาการ กรมอนามัย.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2547). ผลการสำรวจภาวะ

          สุขภาพและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

            ประเทศไทย.

สุชาดา มะโนทัย. (2539). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารนักเรียนระดับมัธยมต้น.

          กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา

            บัณฑิต  วิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพัตรา  สุภาพ. (2537). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุภาพ  สวนปาน. (2538). นักบริหารกับภาวะโภชนาการเกิน. กรุงเทพฯ: กองโภชนาการ กรม

            อนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สุชา จันทร์เอม. (2536). จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทย                             วัฒนาพานิช จำกัด.

เสาวลักษณ์ สุนทราลักษณ์(2552) ผลฉับพลันของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการ

          ออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการใช้แรงต้านที่มีต่อการเผาผลาญพลังงานและ

          การไหลเลือดชั้นคิวทาเนียสในหญิงน้ำหนักปกติและหญิงน้ำหนักเกิน. วารสาร    วิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ปี่ที่ 10 ฉบับพิเศษ (มกราคม-เมษายน 2552).

สำนักงานนโยบายและแผนสาธารณสุข. (2539). สรุปสาระสำคัญแผนการพัฒนาการ

          สาธารณสุขในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-

          2544). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักพัฒนาการพลศึกษา  สุขภาพและนันทนาการ,  กรมพลศึกษา  (2547).  กิจกรรมการ

            ทดสอบและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย.  กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์การศาสนา

                 กรมการศาสนา.

อมรชัย หาญผดุงธรรมะ, (2540). โรคกลัวอ้วน. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.

อาภรณ์  รัตนวิจิตร. (2532). ผลของการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวโดยใช้กระบวนการกลุ่ม

          ต่อการลดน้ำหนักในคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา

            พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย

            มหาวิทยาลัยมหิดล.

อารี  วัลยะเสวี และคณะ. (2529). โรคโภชนาการ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2520 2521.

อินทิรา  วงศ์อัญมณีกุล. (2537). ปีใหม่นี้มาลดความอ้วนกันเถอะ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์และคณะ. (2536). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน

          ในกรุงเทพมหานคร, สารศิริราช.45(5): 159-169.

อุษณีย์ ตันตรีบูรณ์. (2535). มาทำความเข้าใจกับความอ้วนของผู้หญิงกันเถอะ. วารสาร

            พยาบาลสงขลานครินทร์,2(25),30-35.

American College of Sports Medicine. (2006). ACSM’s Guidelines for Exercise Testing

          And Prescription. Lippincott Williams & Wilkins: United States of America.

Cho,Seoung-Bong, Sul, Jeong-Dug ( 1999 ). “ Effects of combined training with weight

       training and jogging exercise on the changes of physical fitness, body

       composition and body girth in middle aged obese men ”. The Korea Journal of

         Sports Science.vol. 8, No, 2, pp. 359 – 366.

Drake, M.A. (1988). Self Esteem of Adolescents Enrolled in a Weight Reduction

          Program. Journal of American Dietetic Association, 2(25), 30-35.

Garrow, J.S. (1988). Obesity and Related Disease. London: Churchill Living Stone.

Hiroyuki Sasai, Yasutomi Katayama, Shigehara Numao (2006).” Effects of Exercise on

       Visceral Fat In Obese Middle Aged men : Comparison to Dietary

       Modification”.The Japanese Society of Physical Fitness and Sport Medicines . 

         No,57, pp. 89-100.

Kaplan, R.M. (1993). Health and human behavior. New York: McGraw-Hill.

         Caulfield, T.M. (1991). Childhood obesity: An analysis of the causes, treatment

         modalities and prevention measure. Dissertation Abstract International. 51(5): 103.

Kim, Chan-Hoi, Kim, Kye-Hwan,  Sang-In ,( 2007 ). “ The Change of Body Composition

and  Blood Component by Walking Type in the Middle Aged Obese Women”.       The Korea    Journal of Sports Science. vol.16, No, 2 , pp.625-632.

Kwan, Jeng-Hyn and Kim, Kyu-Tea(2007). “The Effect of AT level Ergometer on VO2

          ,kcal,R,HR, and Glucose in Middle Aged Obese Women “. The Korea Journal of Sports Science.vol. 16, No, 1 ,pp, 515-525.

Kwon, Jeung-Hyun ( 2006 ). “ The Effect of 12 Weeks Dance Sports Exercise Program

          on weight, BMI and blood lipid profiles in the Middle Aged Obesity Women ”. The Korea Journal of Sports Science.vol. 15, No, 2, pp. 431-439.

Lewis, C.M. (1986). Nutrition and Nutritional Therapy in Nursing. Connecticut: Appiction-

            Century-crofts.

Prentice, W. (1994). Fitness for College and Life. (4th ed). Missouri: Mosby Year Book.

Pi-Sunyer, F.X. (1994). Obesity. In M.E. Shils,J.A. Olson, & M. Shike(Eds), Modern

            nutrition in health and disease(8 ed). Philadephea: Lea & Febiger.

Walcott-Mc Quigg, J.A. (1996). Obesity in Woman’s Health Across the Lifespan: A

Comprehensive Perspective. Edited by Allen<K.M. Phillips. P. 309-323. Philadelphia: Lippincott.




Shils, M.E.,Olsen,J.A.,& Shike,M. (1994). Modern Nutrition in Health and Disease(8 ed).

            Philadephea: Ica & Febiger.

Strauss, R.S. & Knight, T. (1999). Influence of home on the development of obesity in

          children. Peddiatrics. 103(6): 85.